renovateบ้านเก่า มีขั้นตอนอย่างไรจะต้องจ้างใครบ้าง ?
renovateบ้านเก่า มีขั้นตอนอย่างไรจะต้องจ้างใครบ้าง ?
renovateบ้านเก่า หรือ การวางแผนรีโนเวทบ้านนั้นไม่ใช่แค่เลือกแบบบ้านที่ต้องการจะทำใหม่ หรือเรื่องของการกำหนดรายละเอียดรื้อถอน/ก่อสร้างเพียงเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาถึงขอบเขตการเลือกใช้บริการที่เกี่ยวข้องอื่นๆด้วย เช่น ช่าง ผู้รับเหมา นักออกแบบ วิศวกร เป็นต้น สำหรับขั้นตอนในการ renovateบ้านเก่า หรือการปรับปรุงบ้านใหม่ที่เจ้าของส่วนใหญ่ต้องเจอ จะมีทั้งเรื่องการกำหนดรูปแบบ การหาซื้อวัสดุก่อสร้าง การรื้อถอนวัสดุเดิมแล้วดำเนินการก่อสร้างใหม่ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ต้องอาศัยพึ่งบริการจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ซึ่งเนื้องานในการปรับปรุงบ้านใหม่นี้จะเป็นตัวที่กำหนดวิธีปรับปรุงรวมทั้งการเลือกใช้บริการที่เหมาะสม อาทิเช่น การเลือกจ้างช่างเฉพาะส่วน, การจ้างผู้รับเหมาในงานเฉพาะส่วนที่ซับซ้อน, การปรึกษาสถาปนิกและว่าจ้างผู้รับเหมา, การใช้บริการแบบครบวงจรจากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย จึงกล่าวได้ว่าแต่ละวิธีจะมีขอบเขตการทำงาน และส่วนของงบประมาณที่ต้องจัดสรรดังนี้
1.กำหนดวัตถุประสงค์ที่ต้องการปรับปรุงบ้าน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการประเมินงบประมาณในเบื้องต้น เช่น
- ต้องการปรับปรุงบ้านทั้งหลัง เพราะเกิดจากความเก่าทรุดโทรม หรือเกิดความเสียหายในหลายส่วนของบ้าน
- จัดสรรพื้นที่ใช้สอยของบ้านใหม่ด้วยการเพิ่มความหลากหลายมากขึ้น เช่นกั้นห้องอ่านหนังสือในพื้นที่ห้องนั่งเล่น
- ซ่อมแซมเฉพาะบางส่วนที่เสียหาย โดยอาจใช้เป็นโอกาสในการปรับปรุงสภาพให้ดีกว่าเดิม เช่น ห้องน้ำรั่วจากปัญหาของระบบท่อจึงทำการปรับโฉมห้องน้ำเสียใหม่ทั้งห้อง หรือเพดานเกิดน้ำท่วมขังก็ปรับมาเป็นสวนพักผ่อนบนดาดฟ้า
- ปรับปรุงให้บ้านใช้งานได้ทันสมัยมากขึ้น ถึงแม้ว่าบ้านจะยังไม่มีความเสียหายอะไร แต่ปรับเพื่อแก้ปัญหาในการใช้งาน เช่น การเพิ่มแผงกันแดดที่บริเวณหน้าต่างในห้องที่ถูกแดดส่องตลอดทั้งวัน หรือติดตั้งพวกฉนวกเก็บเสียงพร้อมกับเปลี่ยนหน้าต่างชุดใหม่ในห้องที่มักถูกรบกวนจากภายนอก
- ปรับโฉมบ้านให้ได้ตามสไตล์ที่ชอบ เช่น การตกแต่งห้องใหม่ตามแนวลอฟท์ ด้วยการฉาบปูนเปลือยแบบดิบๆ หรือการรื้อฝ้าเพื่อโชว์ท่องานระบบแบบเท่ห์ๆ
2.เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ในการรีโนเวทบ้านเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการพิจารณาว่าควรว่าจ้างใครบ้างในการมาช่วยปรับปรุงบ้านในครั้งนี้
- ว่าจ้างช่างเฉพาะส่วน (งบประมาณจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ค่าวัสดุก่อสร้าง, ค่าแรง)
กรณีที่เป็นการ renovateบ้านเก่า เพื่อการซ่อมแซมที่ไม่มีความสลับซับซ้อนเท่าไหร่นัก หรือไม่ส่งผลกระทบกับงานในส่วนอื่นๆมาก เช่น ว่าจ้าง”ช่างปูน” มาซ่อมเฉพาะรอยร้าวที่เกิดจากผนัง, ว่าจ้าง “ ช่างทาสี” สำหรับการลอกสีเดิมออกแล้วบรรเลงสีใหม่ลงไป, ว่าจ้าง “ช่างไม้” มาทำเรื่องการขัดพื้นไม้ปาร์เกต์พร้อมทำสีใหม่, ว่าจ้าง “ ช่างไฟฟ้า” เพื่อให้มาแยกเซอร์กิตไฟในบางพื้นที่ (ส่วนนี้อาจจะต้องจ้างช่างฝ้ามาเก็บงานเพิ่มเติม) อย่างไรก็ดีเจ้าของบ้านอาจเลือกใช้การจ้างช่างเฉพาะสำหรับงานปรับปรุงในพื้นที่ส่วนนั้นๆก็ได้ อย่างเช่น งานที่ต้องรื้อกระเบื้องแล้วปูพื้นกระเบื้องเป็นไม้ ซึ่งต้องจ้าง “ช่างปูน” และ “ช่างไม้”ทั้งสองประเภทพร้อมกัน เป็นต้น
- ว่าจ้างผู้รับเหมา (งบประมาณจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ค่าวัสดุก่อสร้าง, ค่าบริหารจัดการ)
เหมาะกับงานที่ต้องปรับปรุงหลายส่วน หรือเป็นงานก่อสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อนซึ่งจะส่งผลกระทบต่องานในส่วนอื่นๆเพิ่มมากขึ้น เช่น งานต่อเติมลานซักล้างให้เป็นห้องครัว จะประกอบไปด้วยงานหล่อเคาน์เตอร์ครัวพร้อมติดตั้งวัสดุตกแต่งผิว และตู้ Built-in นอกจากนั้นยังมีงานเดินท่อน้ำดี, ท่อน้ำทิ้ง, ระบบบำบัดน้ำเสียและงานไฟฟ้าส่องสว่างให้กับห้อง เป็นต้น ฉะนั้นการจ้าง “ผู้รับเหมา” ก็เพื่อมาทำหน้าที่บริหารจัดการงานต่างๆ เช่น เลือกใช้ช่างให้ตรงกับงาน จัดซื้อวัสดุก่อสร้าง รวมถึงควบคุมงานก่อสร้างจนดำเนินการแล้วเสร็จตามที่เจ้าของบ้านต้องการ
- ขอคำปรึกษา “สถาปนิกและว่าจ้างผู้รับเหมา” (งบประมาณจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ ค่าออกแบบ, ค่าแรง, ค่าวัสดุก่อสร้าง, ค่าบริหารจัดการ)
สำหรับบ้านที่ต้องการปรับปรุงบ้านบางส่วนหรือทั้งหลัง แต่เน้นที่ความสวยงามตามรูปแบบที่ชอบนอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยให้ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่องานโครงสร้างและงานระบบต่างๆ โดยที่ “สถาปนิก” จะมีหน้าที่ทั้งเป็นผู้ออกแบบ, จัดทำแบบก่อสร้าง รวมทั้งต้องเป็นผู้ประสานงานกับวิศวกรและผู้ออกแบบสาขาที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักออกแบบตกแต่งภายใน หรือเรียกว่ามัณฑนากร, นักออกแบบตกแต่งสวน หรือภูมิสถาปนิก, นักออกแบบแสงสว่าง วิศวกรโครงสร้าง วิศวกรระบบสุขาภิบาล เป็นต้น
- จ้าง “บริการครบวงจร”
จากผู้ผลิตสินค้าหรือตัวแทนจำหน่าย (งบประมาณประกอบด้วยค่าวัสดุก่อสร้างพร้อมค่าบริการ (ไม่สามารถแยกซื้อวัสดุได้) ,ค่าใช้จ่ายเหมารวมวัสดุ, ค่าบริการประกอบด้วย ออกแบบ/ตรวจสอบหน้างาน/ค่าแรง หรือค่าดำเนินการ)
ปัจจุบันในงานปรับปรุงบ้านเริ่มมีผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้าพร้อมให้บริการติดตั้งเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะมีข้อดีทั้งเรื่องความชำนาญและมาตรฐานการติดตั้ง นอกจากนั้นยังมีรับประกันผลงานหลังงานขายแบบครบวงจร เช่น งานปรับปรุงหลังคา งานปรับปรุงห้องน้ำ งานปูพื้นไม้ลามิเนต งานติดตั้งพื้นระเบียงไม้เทียม งานเปลี่ยนฝ้า-เพดาน ฯลฯ โดทางบริษัทจะส่งทีมงานเข้าสำรวจหน้างาน ทีมงานติดตั้ง และทีมงานตรวจสอบคุณภาพงาน รวมทั้งหน่วยงานพร้อมให้ข้อมูล รับเรื่องปัญหาต่างๆประสานงานกับทีมอื่นๆ หากเจ้าของบ้านเลือกใช้จ้างบริการครบวงจรก็สามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับการบริการอย่างเป็นระบบแน่นอน ถือได้ว่าเป็นการอำนวยความสะดวกได้ดีทีเดียว ฉะนั้นการจะเลือกว่าจ้างใครดีจึงต้องดูวัตถุประสงค์หรือความต้องการที่จะ renovateบ้านเก่า เป็นส่วนสำคัญ โดยส่วนใหญ่เจ้าของมักเลือกการว่าจ้างผู้รับเหมาพร้อมกับซื้อวัสดุก่อสร้างด้วยตนเองเพื่อหวังจะควบคุมงบประมาณ อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเลือกใช้ประเภทไหน สิ่งสำคัญอย่าลืมการทำสัญญาระหว่างกันทุกครั้งค่ะ
Cr. https://www.constructacon.org/renovateบ้านเก่า/