รีโนเวทบ้านเก่า กับข้อควรคิดก่อนรีโนเวทแยกส่วนต่างๆของบ้าน
รีโนเวทบ้านเก่า กับข้อควรคิดก่อนรีโนเวทแยกส่วนต่างๆของบ้าน
รีโนเวทบ้านเก่า บางครั้งเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงบ้านทั้งหลังเสียทั้งหมด เราสามารถเลือกที่จะรีโนเวทบ้านเฉพาะบางส่วนหรือห้องที่ต้องการปรับปรุงก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนและงบประมาณที่จะใช้ในการรีโนเวทด้วย ตามหลักแล้วการรีโนเวทหรือปรับปรุงแต่ละส่วนของบ้านนั้นจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องของความเหมาะสมกับโครงสร้าง ความยากง่าย และความเป็นไปได้ในการติดตั้งรื้อถอนวัสดุ ซึ่งแต่ละส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็นหลังคา ผนัง ฝ้าเพดาน พื้นภายในและภายนอกบ้าน ห้องน้ำ รวมถึงานระบบล้วนแล้วแต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป อาทิเช่น
1.รีโนเวทปรับปรุงหลังคา
คนส่วนมากแล้วอาจจะปรับปรุงหลังคาเพื่อความสวยงาม เพื่อแก้ปัญหา หรือทั้งสองอย่าง ในกรณีที่เป็นบ้านเดี่ยวจะทำให้มีอิสระในการตัดสินใจได้มาก แต่หากเป็นบ้านแฝดหรือทาวน์โฮมซึ่งต้องใช้หลังคาร่วมกับเพื่อนบ้านควรพิจารณาให้ดีก่อนว่าข้อจำกัดว่าเราจะมีสิทธิ์ปรับปรุงได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งบ้านทั่วไปการจะเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาที่แตกต่างจากรุ่นเดิมๆจะต้องคำนึงถึงเรื่องของระยะแปและความชันของหลังคาที่จะเหมาะสมกับกระเบื้องรุ่นนั้นๆ บวกกับน้ำหนักของกระเบื้องชุดใหม่ควรมีความเท่าหรือเบากว่าวัสดุเดิมเพื่อไม่ให้ไปเพิ่มภาระแก่โครงสร้างเดิม อย่างไรก็ดีการปรับปรุงหลังคาทุกครั้ง ถือเป็นโอกาสที่จะได้ตรวจสอบโครงสร้างหลังคาว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด มีรอยแตกร้าวผุพังที่จะต้องซ่อมแซมหรือไม่
2.รีโนเวทปรับปรุงฝ้าเดาน
ในการปรับปรุงฝ้าเพดานด้วยการรื้อของเดิมออกเปลี่ยนใหม่ให้สวยงาม รวมทั้งการเปลี่ยนชนิดและรูปแบบฝ้า ควรพิจารณาเรื่องความสมบูรณ์ของโครงคร่าวที่ได้มาตรฐานและเหมาะกับรูปแบบฝ้า กรณีที่ต้องการรื้อฝ้าออกเพื่อโชว์ท้องพื้นอย่าลืมเรื่องการจัดระเบียบสายไฟ ท่อประปาที่ซ่อนอยู่เหนือฝ้าเดิม รวมทั้งอาจจะต้องตกแต่งซ่อมท้องพื้นให้สวยงามด้วย และกรณีที่ชั้นบนเป็นไม้พื้นปูบนตง หากต้องรื้อฝ้าเดิมออกก็ต้องทำใจเรื่องเสียงรบกวนที่จะลอดถึงกันระหว่างชั้นได้ง่ายขึ้นตามช่องระหว่างแผ่นไม้พื้น
3.รีโนเวทปรับปรุงผนัง
4.รีโนเวทปรับปรุงประตู-หน้าต่าง
ส่วนของการปรับปรุงประตู-หน้าต่าง หากต้องมีการเปลี่ยนวงกบด้วยมักต้องมีการพิจารณาเพิ่มเติม เช่น การรื้อถอนวงกบไม้ออกจากผนังปูน ถ้าช่างไม่มีความชำนาญอาจทำให้ผนังเสียหายได้มาก กรณีติดตั้งวงกบไวนิลหรือวงกบอะลูมิเนียม ควรเน้นเรื่องระนาบผนังที่ได้ฉากได้ระดับ รวมทั้งการอุดรอยต่อระหว่างวงกบกับผนังให้มิดชิดแน่นหนา แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนหน้าต่างบานเปิดเป็นบานเลื่อน จะต้องทำใจว่าขนาดของพื้นที่ช่องเปิดให้ลมเข้าได้จะลดลงเหลือครึ่งเดียว
5.รีโนเวทปรับปรุงพื้นในบ้าน
หากการปรับปรุงพื้นในบ้านถ้าแค่เปลี่ยนวัสดุปิดผิวโดยทั่วไปก็จะไม่มีผลกระทบกับโครงสร้าง แต่อาจต้องพิจารณาด้วยว่าสามารถติดตั้งทับวัสดุเดิมได้หรือไม่ เช่น ติดกระเบื้องยาง พรม ไม้พื้นลามิเนตทับพื้นกระเบื้องเดิม) หรือควรรื้อวัสดุเดิมออกเสียก่อนถึงค่อยติดตั้งวัสดุใหม่ทับลงไป นอกจากเรื่องการเปลี่ยนวัสดุปิดผิวแล้ว การปรับปรุงพื้นในทุกครั้งจะต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบโดนโครงสร้างเดิม เช่น ต้องการเพิ่มระดับพื้นให้สูงขึ้นเกิน 10 ซ.ม. ไม่ควรใช้วิธีเทคอนกรีตทับเพราะจะทำให้น้ำหนักเพิ่มมากเกินไป หรืออยากเปลี่ยนพื้นสำเร็จรูปของเดิมให้เป็นพื้นคอนกรีตหล่อในที่ ควรที่ต้องปรึกษาวิศวกรถึงความเป็นไปได้ สาเหตุเพราะระบบโครงสร้างของพื้นทั้งสองแบบนั้นมีความแตกต่างกัน
6.รีโนเวทปรับปรุงห้องน้ำ
การปรับปรุงห้องน้ำหากต้องมีการย้ายตำแหน่งหรืเปลี่ยนรุ่นอุปกรณ์ในห้องน้ำ จะต้องคิดถึงเรื่องระบบท่อ จุดจ่ายน้ำดีและระบายน้ำเสียที่เหมาะสม ส่วนการปรับปรุงพื้นห้องน้ำเพื่อผู้สูงวัยต้องคิดเพิ่มในเรื่องการทำพื้นให้อยู่ในระดับเดียวด้วย สำหรับการปรับปรุงห้องน้ำที่ไม่กระทบงานระบบ เช่น เปลี่ยนแค่กระเบื้องพื้น/ผนัง เป็นต้น
7.รีโนเวทพื้นที่รอบบ้าน
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพื้นที่รอบๆบ้านจะมีแนวทำโครงสร้างพื้นที่หลากหลาย ตั้งแต่การลงเสาเข็มแบบต่างๆ การทำพื้นหล่อคอนกรีตวางบนคาน/วางบนดิน หรือปูวัสดุกับพื้นดินแบบที่ไม่มีโครงสร้าง (เช่น ปูหญ้า,บล็อกคอนกรีต) ดังนั้นหลักในการปรับปรุงพื้นที่รอบบ้านจึงจำเป็นเรื่องการใช้งานควบคู่ไปกับสภาพพื้นเดิมและรูปแบบพื้นที่จะปรับปรุง
จากตัวอย่างทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าการปรับปรุงบ้านในแต่ละส่วน จะมีข้อจำกัดเฉพาะของแต่ละพื้นที่เจ้าของบ้านควรที่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม และถือโอกาสนี้ในการแก้ปัญหาต่างๆให้กับบ้านไปด้วยในตัวค่ะ
Cr. https://www.constructacon.org/รีโนเวทบ้านเก่า/